Network Schema:

 

Scenario:

        Scenario นี้จะแสดงการทำงานของ Switch Manage ในรูปแบบการกำหนด VLAN โดยแต่ล่ะ VLAN นั้นจะ Design ให้เหมาะกับการใช้งานแต่ล่ะแผนก เพื่อจำลองการทำงานในรูปแบบการทำงานเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารกันระหว่างตึกและให้ แต่ล่ะแผนกสามารถสื่อสารกันได้ โดยใช้ความ สามารถของ Switch Manage มาจัดการ ทั้งหมดของเนื้อหานี้จะครอบคุมในเรื่องการกำหนดค่าชนิดของ Port สื่อสารไม่ว่าจะเป็น Access Port หรือ Trunk Port

สำหรับการตั้งค่าอุปกรณ์มีดังนี้ (Switch A และ Switch B ตั้งค่าเหมือนกัน)

- กำหนดค่าของ Port 1 - 4 บน Switch ให้เป็น VLAN 10 เพื่อให้ Host A สื่อสารกับ Host B ได้
- กำหนดค่าของ Port 5 - 8 ตั้งค่า ให้เป็น VLAN 20 เพื่อรองรับ แผนกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- Port 9 - 12 ตั้งค่าให้เป็น VLAN 30 เพื่อให้ Host C สื่อสารกับ Host D ได้
- Port ที่ 16 กำหนดเป็น Port รวม VLAN (Trunk Port) เพื่อที่จะสื่อสารไปยังอุปกรณ์อื่นที่สามารถทำ Trunk Port ได้เช่นกัน

Configure:

1. ในส่วนของการทำ VLAN ให้เข้าไปที่หัวข้อ VLAN > VLAN Setting จากนั้นในส่วนของ VLAN Operation Mode: ให้เลือกเป็น 802.1Q

2. กำหนดการตั้งค่าของ Port ว่าเป็นชนิดใดในหัวข้อ Link Type ตาม Network Schema

ในส่วนของ Port ที่ 1-4 จะเป็น Access Mode โดยการ Untagged VLAN 10,
Port ที่ 6-8 จะเป็น Access Mode โดยการ Untagged VLAN 20,
Port ที่ 9-12 จะเป็น Access Mode โดยการ Untagged VLAN 30,
และ Port ที่ 16 จะเป็น Trunk Mode โดยการ Tagged VLAN 10,20,30

 

3. เช็คการกำหนดค่าของ Port ในส่วนของ VLAN Table สามารถเข้าไปดูได้ที่ Menu ต่อไปนี้ VLAN > VLAN Table

         ในตารางของ VLAN Table จะบอกว่า VLAN ID หมายเลขใด ถูก Tagged หรือ Untagged ไปที่ Port ใดบ้างในตัวอย่างจะเห็นได้ว่า

VLAN 10 จะถูก Untagged ที่ Port 1,2,3,4 และ Tagged จะถูกกำหนดที่ Port 16
VLAN 20 จะถูก Untagged ที่ Port 5,6,7,8 และ Tagged จะถูกกำหนดที่ Port 16
VLAN 30 จะถูก Untagged ที่ Port 9,10,11,12 และ Tagged จะถูกกำหนดที่ Port 16

ตามตัวอย่างด้านล่าง